Search

วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ขอให้ “บอมเบย์เบอร์มา” เป็นบทเรียนเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา ในอนาคตอย่างแท้จริง - เชียงไหม่นิวส์

jogja-tribbun.blogspot.com

ผู้สื่อข่าวรายงานมาจาก จ.แพร่ เกี่ยวกับความคืบหน้าการรื้ออาคารบอมเบย์เบอร์มา ที่ จ.แพร่ ที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ ทั้งใน จ.แพร่ และทั่วประเทศ โดยเฉพาะ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตส.ส.แพร่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้และมีข้อมูลเชิงลึกในเรื่องนี้ วันที่ 21 มิถุนายน 2563 เฟซบุ๊ก “วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล” ได้เขียนแสดงความคิดเห็นชื่อว่า “บอมเบย์เบอร์มา” คำตอบ ความยากจนและหนี้สินประเทศ
โบราณสถาน “บอมเบย์เบอร์มา” 1 แห่อาจจะมองเพียงความสูญเสียอาคารอนุรักษ์ที่มีประวัติศาสตร์และจิตวิญญาณชุมชน ที่คนไทยทั้งประเทศเสียดายและหวงแหน โบราณสถานที่สูญเสียไปในวันนี้ เงินนับร้อยนับพันล้านก็แลกไม่ได้

แต่หากความสูญเสีย “บอมเบย์เบอร์มา” นี้มาสะท้อนให้พวกเราคนไทยมองเห็นว่า มันคือรูปแบบของปัญหาที่แฝงอยู่ในกระบวนการจัดทำงบประมาณและการจัดทำโครงการในการพัฒนาประเทศ ของรัฐบาลนี้ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตแล้ว การจะสร้าง “บอมเบย์เบอร์มา” ปลอมขึ้นมาใหม่หรือไม่ คงไม่มีอะไรแตกต่างกัน การสูญเสียครั้งนี้ จะทำให้เราเข้าใจว่า ทำไม? วันนี้คนไทยถึงยากจนลง ทำไม? ประเทศไทยถึงได้ล้าหลังเพื่อนบ้าน ทำไม? หนี้สินประเทศ ถึงเพิ่มขึ้นไม่หยุด และเราจะแก้ไขปัญหานี้กัน อย่างไร?

ขออนุญาตนำเสนอความเห็นครั้งนี้ ในเชิงวิชาการ หากจะกระทบผู้ใดก็ขออภัยไว้ในที่นี้ด้วย เพราะหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไปสู่การแก้ไขปัญหาของประเทศให้ดีขึ้น การรื้อถอน “บอมเบย์เบอร์มา” ผิดตรงไหน

ลำดับแรก การอนุญาตให้หน่วยงานที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในโบราณสถานที่และไม่มีจิตอนุรักษ์เข้าไปใช้ในโบราณสถาน ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมาก เป็นสิ่งที่ผิดมาตั้งแต่แรก

ประการที่ 2 กระทรวงทรัพย์ ครอบครองและประกาศตัวเป็นเจ้าของ โดยไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปแตะต้อง และการตั้งงบประมาณในการซ่อมบำรุงให้นั้น “ยากมาก” ทำให้โบราณสถานต่าง ๆ ของชุมชนเสื่อมโทรมไปโดยไม่ได้รับความสนใจ เราจึงเห็นไม้อัดไปแปะอยู่บนอาคาร 100 ปี โดยทั่วไป

ประการที่ 3 กระทรวงทรัพย์ ไม่ให้ความสนใจ สร้างที่ทำงานให้ข้าราชการของตนเอง แต่ใช้วิธียึด โบราณสถานของชุมชนเป็นที่ทำงานแทน ดังนั้น แทนที่ชุมชนเมืองเก่าจะมี อาคารประวัติศาสตร์ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่กลับได้อาคารเก่า ผุพัง กระจายอยู่ทั้งเมืองดังนั้น เมื่อข้าราชการ ไม่ได้รับความสะดวก ก็ไม่แปลกที่อยากจะทุบอาคารเก่าทิ้งแล้วสร้างที่ทำงานใหม่ เพื่อให้ทำงานได้สะดวกสบายกว่าเดิม โดยที่ไม่สนใจว่าอาคารที่ตนเองใช้งานอยู่นั้นเป็นโบราณสถานอายุเก่าแก่กว่า 100 ปี และเป็นสมบัติของชุมชน
แต่เนื่องจาก ไม่สามารถของบประมาณในการสร้างที่ทำงานใหม่จากกระทรวงได้จึงดำเนินการ “ซ่อนเงื่อน” โดยเขียนโครงการเป็นซ่อมแซมและปรับปรุง (งบอาคาร 4 ล้านบาทเป็นงบสร้างห้องน้ำใหม่กว่าล้านบาท) แต่แท้ ที่จริงแล้วกลับเป็นการรื้อถอนและใช้งบซื้อไม้ปลอม “ไม้เชอร่า” และเหล็กชุบสังกะสี มาสร้างเป็นอาคาร 100 ปีแทน

ส่วนไม้สักทองอาคารประวัติศาสตร์เมืองไม้สักทองที่ดีที่สุดในโลกอายุกว่า 100 ปีนั้นสุดท้าย จะนำไปที่ใดไม่มีใครทราบ เพราะไม่ได้ปรากฏอยู่ในบันทึกแต่แรก แต่เพิ่งจะได้นำกลับมาใช้สร้างอาคารให้อยู่ในรูปแบบเดิมก็ต่อเมื่อ “ความแตก” เสียแล้ว

ดังนั้น การเสนอตั้งของบประมาณเพื่อการซ่อมแซมแต่ในรายละเอียดเป็นการรื้อถอนทำลายอาคารโบราณ 127 ปี บอมเบย์เบอร์มา ที่เป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษ ที่มาทำธุรกิจค้าไม้ ที่จังหวัดแพร่นั้น ถือว่า เป็นการให้การเท็จต่อกรรมาธิการงบประมาณ และกระทำการทุจริตงบประมาณ ของหน่วยงาน ของจังหวัด ของผู้บริหารกระทรวงที่ชี้แจง
ก่อให้เกิดความเสียหายทำลายโบราณสถานเป็นความสูญเสียทางด้านการท่องเที่ยว ศิลปกรรม และชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของประเทศชาติ อย่างร้ายแรง

ประการที่ 4 การที่รองอธิบดีกรมอุทยานรับปากจะจัดหางบประมาณมาซ่อมแซมให้นั้น ด้วยงบประมาณปี 2563 ที่ประมูลไปแล้วจำนวน 4,560,000 บาทจะนำมาใช้ไม่ได้ เพราะในรายละเอียดเป็นการซื้อวัสดุใหม่ มิใช่การซ่อมแซม จึงไม่ตรงวัตถุประสงค์ ส่วนงบประมาณปี 2564 ตั้งไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีรายการนี้ อย่างเร็วก็ปี 2565 ป่านนั้น ไม้เก่าที่รื้อถอนมา ก็จะชำรุดไปหมดแล้ว ยกเว้นกรมอุทยานฯ จะยอมนำเงินกองทุนที่ได้จากการเก็บค่าเข้าชมอุทยานที่จัดเก็บได้หลาย 1,000 ล้านบาท มาชดเชยให้ จึงต้องรอดูว่า กระทรวงทรัพย์ จะดำเนินการได้จริงหรือไม่ อย่างไร

ประการที่ 5 ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ร่วมจัดทำเอกสารเท็จ เซ็นเอกสารย้อนหลัง เป็นเลขานุการกลุ่มยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวแต่ ทำโครงการทำลายอาคารโบราณสถานที่มีสถาปัตยกรรมร่วมไทย-อังกฤษ ทำลาย แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ไม่เป็นไปเพื่อการท่องเที่ยวแต่อย่างใดแต่กระทรวงท่องเที่ยว ก็ยังเพิกเฉย มิได้ดำเนินการอะไร แต่อย่างใด จึงไม่ทราบว่า แนวทางการทำงานเช่นนี้ ถือเป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปของกระทรวงหรือไม่ ทางกระทรวงจึงมิได้เห็นว่าเป็นความผิดปกติของการทำงานประการที่ 6 รองผู้ว่าราชการจังหวัด อยู่จังหวัดแพร่มานาน เห็นชอบโครงการ รื้อทิ้งแล้วให้สร้างใหม่ ไม่มีการทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการ เห็นชอบรูปแบบรายการและจัดทำงบประมาณเป็นเท็จ เอกสารไม่ตรงข้อเท็จจริง ไม่ขออนุญาตก่อสร้างจากท้องถิ่น ไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากร ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอนุรักษ์เมืองเก่า ไม่ได้รับฟังความคิดเห็นจากชุมชน จัดทำเอกสารประมาณย้อนหลัง ทำเอกสารเท็จเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำเสนอข้อมูลเท็จต่อคณะกรรมาธิการงบประมาณ ชื่อโครงการเป็นซ่อมแซม แต่รายละเอียดเป็นการรื้อถอน โครงการแบบนี้ ท่านก็ปั้นขึ้นมาได้ จึงไม่สามารถให้ความคิดเห็น ขอให้เป็นดุลยพินิจ ของทุกท่าน

ประการที่ 7 ผู้ว่าราชการจังหวัด ยอมรับแล้วว่าเป็น “ผู้อนุมัติโครงการ” แต่ยังบอกว่า ไม่ได้ให้รื้อถอนทั้งที่ในแบบแปลนและสัญญาจ้างผู้รับเหมาระบุว่าต้องมีการรื้อถอน ซึ่งการรื้อถอน ทุบทิ้งอาคารโบราณสถานเช่นนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีการอนุมัติ ดังนั้น การคัดเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด จึงควรมีการกำหนดคุณสมบัติทางด้านบริหาร มากกว่าด้านอาวุโสและถ้าหากมีความเสียหายเกิดขึ้นนั้น ทางกระทรวงมหาดไทย ก็ควรจะมีส่วนในการรับผิดชอบด้วย

ประการที่ 8 กระทรวงวัฒนธรรม ขอขอบคุณ ที่มาช่วยตอนจบ (ไปแล้ว) แต่ถ้าจะกรุณาตัดสินใจในการทำงานให้เร็วขึ้นและถ้าหากเห็นว่าเอกสารไม่สมบูรณ์ จะกรุณาให้เจ้าหน้าที่เดินทางมาดูให้เหตุการณ์ทุบทิ้ง ทำลาย ก็คงไม่เกิดขึ้น (ฝากท่านรัฐมนตรี อิทธิพล คุณปลื้ม ช่วยดูแลให้ด้วยนะครับ)

ประการที่ 9 จะเห็นว่าในขณะที่ พี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ต่างร่วมกันแสดงออกและเรียกร้องถามหามาตรการ “ความรับผิดชอบ”ในการเยียวยา แก้ไข ปกป้องและแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นมาอีกนั้นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนหรือว่า การปฏิบัติเช่นนี้ เป็นแนวปฏิบัติปกติของทุกกระทรวงจริง ๆ10 ประการสำคัญ การที่สำนักงบประมาณ ปล่อยให้มีการขอรับการจัดสรรงบประมาณที่หละหลวมขนาดนี้ เกิดขึ้นมาได้นั้น แสดงว่าให้เห็นถึงว่า ในปัจจุบัน รายการโครงการที่มีปัญหาทั้งรูปแบบรายการ แบบแปลน การขออนุญาต การคำนวณเม็ดเงิน ฯลฯ

ไม่ใช่มาตรฐานของสำนักงบประมาณที่พึงจะมั่นใจ ควรที่กรรมาธิการงบประมาณ ประจำปี จะได้กำหนดมาตรการการตรวจสอบ ทั้งเอกสาร แบบแปลนและเม็ดเงิน ให้เข้มงวดรัดกุม มากยิ่งขึ้น ก็จะเป็นการลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้

สิ่งที่เกิดขึ้น เห็นได้ว่าในปัจจุบัน การทำโครงการของหน่วยงานนั้น มีวัตถุประสงค์อยู่เพียง ให้ได้ทำโครงการใช้งบประมาณให้แล้วเสร็จแต่ ผลสัมฤทธิ์ของโครงการจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนชุมชนหรือประเทศชาติอย่างไรหรือไม่นั้นไม่มีความชัดเจนจึงเป็นเหตุผลว่าถ้าหากเรายังปล่อยให้มีการทำโครงการของรัฐไปลักษณะนี้อีกนั้นก็จะก่อให้เกิดการสูญเสียงบประมาณแผ่นดินไปโดยไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร
สุดท้ายประเทศก็จะต้องกู้หนี้ไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

ประชาชนก็คงจะยากจน ประเทศไทยก็คงจะล้าหลังประเทศเพื่อนบ้านขอให้”บอมเบย์เบอร์ม่า “เป็นบทเรียนเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา ในอนาคต “อย่างแท้จริง”การสูญเสียของพวกเราชาวแพร่ ครั้งนี้ พวกเราจะไม่เสียใจเลย

ขอให้ทุกความเห็น และเสียงเรียกร้องของพวกเราดังขึ้น ให้ก้องฟ้านำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเพื่อพี่น้องประชาชนทุกคน ด้วยครับ
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล




June 21, 2020 at 09:58AM
https://ift.tt/2ANHurg

วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ขอให้ “บอมเบย์เบอร์มา” เป็นบทเรียนเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา ในอนาคตอย่างแท้จริง - เชียงไหม่นิวส์

https://ift.tt/2TYnNTT


Bagikan Berita Ini

0 Response to "วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ขอให้ “บอมเบย์เบอร์มา” เป็นบทเรียนเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา ในอนาคตอย่างแท้จริง - เชียงไหม่นิวส์"

Post a Comment

Powered by Blogger.