Search

ชีวิตคน กับ เศรษฐกิจประเทศ ในมือแพทย์ไทย-ระบบสาธารณสุข - ไทยรัฐ

jogja-tribbun.blogspot.com

ที่สำคัญมากก็คือใครจะล้มแล้วลุกขึ้นได้ก่อนกัน ประเทศใดปรับตัวได้ดี มีความยืดหยุ่น เปิดประเทศได้ก่อน เศรษฐกิจขยายตัวได้เร็ว และรับนักท่องเที่ยวกลับมาได้ก่อน โอกาสที่เศรษฐกิจจะกลับมาเป็นรูปตัว V ก็ย่อมจะมีความเป็นไปได้สูงกว่า โดยเฉพาะในการเปิดประเทศ

ชีวิตคนกับเศรษฐกิจปากท้องประเทศ

ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิรามาธิบดี และกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โคโรนา (โควิด-19) ศบค. ให้ความเห็นว่าส่วนตัวหมอไม่ค่อยกลัวการที่จะเกิดมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบสอง

แต่ที่เป็นห่วงก็คือในขณะที่ประเทศอื่นๆมีภูมิต้านทานไวรัสตัวนี้กัน แต่คนไทยไม่มี เพราะเรารักษาพรหมจรรย์กันจนไม่เปิดช่องทางอื่นให้กับการลดความเสี่ยงที่จะกลับมาติดเชื้อไวรัสตัวนี้อีก ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเป็นไข่แดงในหมู่ประเทศเพื่อนบ้าน

ระหว่างที่ผู้คนในสหรัฐอเมริกากับสหภาพยุโรปสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ แต่เรายังปิดเมืองอยู่ หนทางเดียวคือรอให้มีวัคซีนออกมากว่าจะถึงวันนั้น หรือไม่มีทางนำวัคซีนมาใช้ได้เราก็ต้องเจอฟ้าเหลือง

มหาวิทยาลัยแพทย์ และกระทรวงสาธารณสุข เรานำเสนอมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไปครบทุกขั้นตอน และทุกขั้นตอนก็มีการตรวจสอบเข้มงวด มีการนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการ พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) 14 วันเพื่อจะเปิดทางให้นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้ แต่ปัญหาของเราคือมีคณะแพทย์อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ต้องการให้มีการเปิดประเทศ

เมื่อไหร่ที่มีการพูดถึงประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อจะช่วยเหลือเศรษฐกิจในประเทศอย่างน้อยให้คนไทยพออยู่ได้ ก็จะมีเสียงคัดค้านท่านนายกรัฐมนตรี ว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นกับคนไทย ท่านต้องรับผิดชอบกับการตัดสินใจนั้นๆด้วย สุดท้ายเราจึงไม่ได้ทำอะไร เท่ากับว่าเมื่อเราตัดสินใจจะเดินทางนี้ คือ รักษาพรหมจรรย์ไว้อย่างเหนียวแน่น หรือเล่าแต่เรื่องผีหลอกเด็กมาตลอด เราก็จะต้องอยู่อย่างนี้ต่อไป โดยที่หาทางลงไม่ได้

พบข้อสงสัยคนไทยติดไวรัสต่ำ

จริงๆเรารู้อยู่ว่าโรคไวรัสนี้มีอัตราการตายไม่มาก แค่ 0.6% ถ้ามีคนติดเชื้อ 1,000 คน ก็จะมีคนตาย 6 คน และคนส่วนใหญ่ที่จะเสียชีวิตก็คือคนสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัวอยู่เดิมแล้ว คนธรรมดา หรือไม่มีโรคประจำตัวอะไร ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการเหมือนเป็นหวัดคัดจมูก อาจมีเรื่องของการที่จมูกไม่รับรู้กลิ่นอยู่บ้าง แต่สามารถรักษาหาย

มีเรื่องน่าสนใจอีกเรื่องก็คือทำไมพวกเราคนไทยไม่ติดเชื้อไวรัสตัวนี้ นักวิทยาศาสตร์และแพทย์สมัยใหม่กำลังสงสัยว่า เพราะพวกเราได้รับวัคซีน BCG (วัคซีนป้องกันวัณโรค) ตั้งแต่เด็กมีความเป็นไปได้สูงว่า พวกเราจึงมีภูมิต้านทานบางอย่างในต่อมน้ำเหลืองอยู่ มีหลายประเทศพยายามจะเอาวัคซีนตัวนี้ไปทดลองใช้ แต่หมอยังไม่ทราบผลการทดลองออกมาอย่างไร

ที่มีคนพูดกันว่าทีมหมอจากมหาวิทยาลัยแพทย์กับหมอของกระทรวงสาธารณสุขไม่ค่อยจะมีความเห็นตรงกันเท่าไหร่นั้น คุณหมอปิยะมิตร กล่าวว่า ศบค.เราประชุมกันทุกสัปดาห์ และต่างฝ่ายต่างก็เข้าใจกันดี ก็อาจจะมีพวกที่สุดโต่งอยู่บ้างที่กลัวมากกว่า ถ้าเราเปิดประตูให้ไวรัสตัวนี้เข้ามา ประเทศไทย คนไทย จะได้รับผลกระทบมาก

ส่วนหมออีกกลุ่มไม่ได้ตื่นตระหนกกับการจะมีคนไทยติดเชื้อเพิ่มขึ้น และเมื่อไม่มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น งานของหมอก็เบาลง แต่ปัญหาคือ จะทำให้คนไทยไม่มีภูมิคุ้มกันเลย ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ประชากรของเขามีภูมิต้านทานแล้วอาจจะราว 20% คนในประเทศเหล่านี้ถ้าต้องฉีดวัคซีนรัฐก็อาจจะใช้วัคซีนในจำนวนที่น้อยลงแล้ว หรืออาจจะใช้อีกราวๆ 20-30% เพราะพวกเขาเปิดประเทศกันไปเต็มที่แล้ว

หมอว่าการรักษาพรหมจรรย์เป็นเรื่องดี และก็ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าแง้มประตูบ้านออกมาสักนิดเพื่อรับเอาสิ่งต่างๆเข้ามามันอาจจะท้าทาย แต่ก็จะดีกับเรา เพราะระบบการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยเรามีความพร้อมที่จะรองรับการรักษาได้วันละ 50–100 คน ถ้าการแพร่ระบาดกลับมาในรอบสอง

เสนอปิดเกาะเอานักท่องเที่ยวเข้าไทย

หมอเคยเสนอไปในครั้งแรกๆเลยว่า ถ้าเราจะเอานักท่องเที่ยวกลับมาท่องเที่ยวที่ภาคใต้ รัฐบาล หรือท้องถิ่นควรจัดแพ็กเกจในสถานที่ที่เป็นเกาะ และรีสอร์ตที่มีระดับ รองรับไว้เลย เช่น พังงา ศรีพันวา เกาะยาว ภูเก็ต รัฐบาลไทยสามารถจัดทำแพ็กเกจเสนอนักท่องเที่ยวในแบบที่รวมเอา State Quarantine เข้าไปด้วยกันได้เลย คือ รักษาตัวไปพร้อมกับท่องเที่ยวไปในตัว คือไปอยู่ในสถานที่ที่จัดให้

ตัวอย่างจากเกาหลีใต้ เขาเอานักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามา 40,000–50,000 คน ในจำนวนนี้ จะมีคนติดเชื้อไวรัสอยู่ประมาณไม่เกิน 5% บางวันมีคนติดเชื้อ 100 คน แต่ระบบการแพทย์ของเขาก็เอาอยู่

ความพยายามจะขอให้มีการพิจารณาแง้มประตูบ้านเปิดให้ต่างชาติเข้ามาในประเทศในจำนวนที่พอสมควรเป็นสิ่งที่คณะแพทย์ เราเข้าใจดี

หลายครั้ง ศบค.เราเชิญนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และผู้บริหารระดับสูงจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาให้ข้อมูลด้านเศรษฐกิจประเทศและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อจะได้

รับรู้ผลกระทบ และสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รับรู้ว่า จะมีธุรกิจใดต้องล้มลงบ้าง หรือจะมีแม้แต่ข่าวลือเรื่องแบงก์ล้มด้วยหรือไม่

ที่สำคัญหมอควรจะรู้ด้วยว่า เมื่อเกิดโรคนี้แล้ว การขยายตัวเศรษฐกิจ หรือ GDP ประเทศไทย จะลดลงไปมากน้อยเพียงใด

หมอเคยเจอเจ้าของโรงแรมแห่งหนึ่งเล่าว่า เขามีโรงแรมในเครือ 10 แห่ง ปกติเขาจะมีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่ราวๆ 40-50 ล้านบาทต่อเดือน แต่ทุกวันนี้รายได้เขาเหลือต่ำกว่า 10% ถ้ารัฐบาลไม่ตัดสินใจทำอะไรเลยเพื่อช่วยเหลือการท่องเที่ยว เขาอาจจะมีเงินสดหมุนเวียนเพื่อเลี้ยงพนักงานได้แค่ปีเดียวเท่านั้น

เท่าที่ทราบ หมอคิดว่าจนกว่าเราจะได้รับวัคซีน ก็คงจะมีธุรกิจรายเล็กรายน้อยจำนวนมากล้มหายตายจากไป จะเหลือก็แต่ธุรกิจขนาดยักษ์ใหญ่ของไทยเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้น

จีนฉีดวัคซีนให้ประชากรแล้วไทยรออีกนิด

ที่ประเทศจีนเขาเริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชากรของเขาแล้ว หลังจากผ่านการทดสอบในเฟสที่ 3 มา โดยเริ่มจากการฉีดให้ทหารก่อนและเขาขายวัคซีนของเขาในราคาโดสละ 145 เหรียญสหรัฐฯ ถ้าฉีดให้คน ต้องใช้ 2 โดส ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 8,000 กว่าบาท ส่วนของเราที่บริษัทสยามไปโอโซเอนซ์ร่วมกับสถาบันการแพทย์ในอังกฤษมีราคาประมาณโดสละ 5 เหรียญ ต้องฉีด 2 โดสต่อคนก็ตก 10 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณหัวละ 300 บาท ซึ่งถือว่าราคาถูกมาก

วัคซีนที่ประเทศไทย หรือประเทศอื่นๆได้มา ส่วนใหญ่ในขณะนี้ผ่านการทดสอบในเฟสที่ 3 แล้ว ส่วนโอกาสจะประสบความสำเร็จมี 20%...ก็ถือว่าโอเคใช้ได้แล้ว

หมอเพิ่งได้รับรายงานข่าวจาก CNN และ BBC ล่าสุดว่า วัคซีนที่มีชื่อว่า แอสตราเซเนก้า ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของบริษัทพัฒนาวัคซีนของอังกฤษร่วมพัฒนากับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดที่ฉีดให้กับอาสาสมัครไป 30,000 คน เกิดพบว่ามีผู้ป่วยรายหนึ่งเกิดอาการทางสมองเฉียบพลันทำให้ต้องหยุดการทดสอบ และหาสาเหตุไป 1 สัปดาห์ ก่อนจะกลับมาทำการทดลองใหม่

อย่างที่สหรัฐฯ การปล่อยให้มีประชากรติดเชื้อไวรัสนี้จำนวนมาก นอกจากจะทำให้คนอเมริกันมีภูมิต้านทานไวรัสตัวนี้แล้ว

ทำไปทำมาสหรัฐฯอาจจะลดภาระในเรื่องของคนสูงอายุที่ต้องจากไปตามธรรมชาติได้มาก โดยเฉพาะพวกที่เป็น Non-productivity และต้องใช้ทรัพยากรของรัฐดูแล ขณะเดียวกัน การใช้วัคซีนก็อาจไม่ต้องใช้ในจำนวนมากได้ เพราะมีผู้คนติดเชื้อกันเป็นอันดับหนึ่งของโลกไปแล้ว.

ทีมเศรษฐกิจ




September 14, 2020 at 05:20AM
https://ift.tt/3keT3st

ชีวิตคน กับ เศรษฐกิจประเทศ ในมือแพทย์ไทย-ระบบสาธารณสุข - ไทยรัฐ

https://ift.tt/2TYnNTT


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ชีวิตคน กับ เศรษฐกิจประเทศ ในมือแพทย์ไทย-ระบบสาธารณสุข - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.