Search

ชะตากรรม "อุตสาหกรรมการบิน" เจ็บหนักทั้งโลก ความสูญเสียที่ไม่จบแค่ปี 2563 - ไทยรัฐ

jogja-tribbun.blogspot.com

โดยเมื่อสิ้นเดือนเมษายน พบว่า จำนวน City-Pair (แบบไม่ซ้ำ) ลดลงจากปี 2562 ถึง 67% และคาดว่านี่เป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เกิด 'วิกฤติการเงินโลก' ยิ่งกว่านั้นยัง 'เสี่ยง' ที่จำนวนการจับคู่เมืองจะไม่ฟื้นกลับมาทั้งหมดได้อีกเลย และบางเมืองอาจต้องยอมเสียผลประโยชน์ที่เคยตกลงกันไว้ไป...

นั่นเพราะว่า 'คมนาคมทางอากาศ' มีความสำคัญมากกับการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งจากวิกฤติครั้งนี้ อาจทำให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศที่ขนส่งทางอากาศลดลงจากปี 2562 ถึง 15% อยู่ที่ประมาณ 173 ล้านล้านบาท

และกว่าหลายทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลหลายๆ ประเทศก็ได้รับประโยชน์มากมายจาก 'อุตสาหกรรมการบิน' ก่อเกิดเม็ดเงินรวมกว่า 4 ล้านล้านบาทต่อปี ที่ส่วนมากมาจากรายได้ทางภาษี ฉะนั้นเมื่อเกิด 'วิกฤติโควิด-19' บรรดา 'สายการบิน' จึงต่างมองหาการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อต่อลมหายใจให้มีชีวิตรอดผ่านไปได้...แม้จะทุลักทุเลก็ตาม

แล้ว 'รัฐบาล' จะนิ่งเฉยอยู่ได้หรือ?

จากข้อมูลเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม พบว่า 'สายการบิน' ทั่วโลกได้รับเงินสนับสนุนจาก 'รัฐบาล' รวมกันประมาณ 3.9 ล้านล้านบาท ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งอัดฉีดเงินทุน, จัดหาสินเชื่อ, ยืดเวลาจ่ายภาษีและลดหนี้ภาษี หรือแม้แต่ 'มาตรการอุดหนุนค่าจ้าง' เพื่อคงการจ้างงาน

โดยสายการบินในภูมิภาค 'อเมริกาเหนือ' และ 'ยุโรป' ได้รับเงินสนับสนุนอยู่ที่ 25% และ 15% ของรายได้ (ตามลำดับ) แตกต่างกับสายการบินในภูมิภาค 'ลาตินอเมริกา', 'ตะวันออกกลาง' และ 'แอฟริกา' ที่ได้เพียง 1% ของรายได้เท่านั้น

คำตอบ 4: 'สายการบิน' ทุกภูมิภาค 'ติดลบ'

การที่ 'ลาตินอเมริกา', 'ตะวันออกกลาง' และ 'แอฟริกา' ให้เงินสนับสนุนเพียง 1% หนึ่งในเหตุผลก็เพราะ 3 ภูมิภาคนี้ได้ผ่านมรสุมและการเผชิญกับหลากปัจจัยมาก่อน 'วิกฤติโควิด-19' แล้ว อย่าง 'แอฟริกา' เรียกว่าเปราะบางเลยก็ว่าได้ มี 'สายการบิน' จำนวนน้อยมากที่สามารถทำกำไรได้ คาดว่าปี 2563 จะขาดทุนสุทธิประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ส่วน 'ลาตินอเมริกา' บางสายการบิน เผชิญกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจมาก่อนแล้ว ผสมปนเปรวมกันคาดว่าขาดทุนสุทธิประมาณ 1 แสนล้านบาท และ 'ตะวันออกกลาง' ที่ สายการบิน หลายแห่งเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้าง คาดว่าขาดทุนสุทธิประมาณ 2 แสนล้านบาท (จากเดิมปี 2562 ขาดทุน 5 หมื่นล้านบาท)

ขณะที่ 'อเมริกาเหนือ' ก่อนเกิด 'วิกฤติโควิด-19' การดำเนินงานเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งคาดว่า ปี 2563 จะขาดทุนสุทธิประมาณ 7 แสนล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิต่อหัวประมาณ 1,200 บาท คิดเป็นเกือบ 6 เท่าของการขาดทุนที่เลวร้ายที่สุดช่วงก่อนการระบาด แต่ในส่วน Net Margin อยู่ที่ -16.8% ค่อนข้างดีกว่าบางภูมิภาค และยังได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า Breaken Load Factor อาจเพิ่มเป็น 68%

สูง...แต่ก็น้อยกว่า 'ยุโรป' ที่คาดว่า Breaken Load Factor อาจเพิ่มเป็น 75.5% จากผลตอบแทนที่ตกต่ำ ซึ่งการล็อกดาวน์การท่องเที่ยวทางอากาศในไตรมาส 2 ทำให้ขาดทุนสุทธิประมาณ 7 แสนล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิต่อหัวประมาณ 1,000 บาท และ Net Margin -22.1%

สำหรับ 'เอเชียแปซิฟิก' ภูมิภาคแรกที่พบการแพร่ระบาด ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถฟื้นอุปสงค์ให้กลับมาสภาพปกติดังเดิมได้ ค่าเฉลี่ยความเสียหายต่อหัวคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 950 บาท รวมทั้งหมดขาดทุนสุทธิปี 2563 ประมาณ 9 แสนล้านบาท

คำตอบ 5: 'แรงงาน' พยุงธุรกิจการบิน กำลัง 'เสี่ยง'

จากตัวเลขกำหนดการส่งมอบเครื่องบินลำใหม่ของ 'สายการบินพาณิชย์' ที่ปรากฏออกมาของปี 2563 จำนวน 960 ลำ กลับกลายเป็นว่า ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม มีการส่งมอบเครื่องบินใหม่เพียง 235 ลำเท่านั้น ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่า 'สายการบิน' ต่างๆ อาจพิจารณายกเลิกหรือเลื่อนออกไปยาวๆ ช่วงท้ายปี หรือบางที...ความกระหายการลงทุนเครื่องบินใหม่ก็อาจค่อยๆ ลดลงไปจนถึงปี 2564 และมีการคาดการณ์ว่า 'สายการบิน' อาจพิจารณาขาย 'ทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว' เพื่อสร้างรายได้

เมื่อเครื่องบินลำใหม่ยังลังเล เครื่องบินลำเก่าก็อาจจะขาย...แววปรับไซส์กองบินหรือลดขนาดเครื่องบินเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้นและกลางก็ดูมีความเป็นไปได้ จากเฉลี่ย 150 ที่นั่ง ก็อาจเหลือ 140 ที่นั่ง

และจากการลดไซส์ของ 'สายการบิน' คาดว่าปี 2563 การจ้างงานจะลดลงเหลือเพียง 2 ล้านตำแหน่ง หรือลดลงกว่า 35.5% (ปี 2562: 3 ล้านตำแหน่ง)

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะต้นทุนแรงงานต่อหน่วยจะลดลง คาดการณ์ว่าจะเหลือประมาณ 3 ล้านล้านบาท (ปี 2562: 6 ล้านล้านบาท) แต่การบีบ 'สายการบิน' ให้สร้างกำไร(สุทธิ) ก็ยังคงดำเนินต่อไป...

คำตอบ 6: ควรพิจารณาก่อน 'ลงทุน'

ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา 'สายการบิน' ในภูมิภาค 'อเมริกาเหนือ' และ 'ยุโรป' นักลงทุนหุ้นมักจะได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินทุน แต่ในทางกลับกัน 'สายการบิน' ในภูมิภาค 'เอเชียแปซิฟิก' และ 'ลาตินอเมริกา' มีผลตอบแทนต้นทุนเงินทุนอยู่ที่ระดับต่ำอย่างคงเส้นคงวา

และยิ่งสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยแปลงอย่างมากในปี 2563 นี้ ทุกภูมิภาคต่างเผชิญกับอัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนเพื่อการดำเนินงานของบริษัท (ROIC) ที่ 'ติดลบ' โดยคาดว่าอุตสาหกรรมการบินจะมี ROIC รวมทั้งหมดที่ -16.9% ซึ่งแม้ว่า ปี 2564 อาจได้เห็นการฟื้นกลับสู่สภาพปกติของสภาวะอุปสงค์ แต่ผลตอบแทนจากการลงทุนยังคาดว่าจะคงอยู่ 'แดนลบ'

คำตอบสุดท้าย: ปิดปี 2563 และมองไปที่ปี 2564

แน่นอนว่าผลตอบแทนที่เรียกว่า 'กำไร' ของ 'อุตสาหกรรมการบิน' ในปี 2564 ยังคงเป็นไปอย่างยากเย็น และการจะกลับมาเทียบเท่ากับช่วงก่อนเกิด 'วิกฤติโควิด-19' ก็เหมือนว่า "ไม่น่าจะเกิดขึ้น" ด้วยพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่ยังระมัดระวังและการฟื้นฟูธุรกิจที่ค่อยเป็นค่อยไป (จนเกือบเชื่องช้า) หากย้อนดู 'วิกฤติการเงินโลก' เมื่อปี 2551-2552 ความเสียหายของ 'อุตสาหกรรมการบิน' ก็ขยายวงกว้างและยืดเยื้อไปหลายปีอยู่เหมือนกัน

แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็อาจไม่เท่ากับปี 2563 คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 5 แสนล้านบาท

สรุปคำตอบทั้งหมดได้ว่า ปี 2563 จะเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของ 'สายการบิน' และจะเสียหายต่อเนื่องไปจนถึงปี 2564 ถึงแม้ว่าจะค่อนข้างน้อยก็ตาม.

ผู้เขียน: เหมือนพระอาทิตย์
ข้อมูลอ้างอิง: IATA




August 24, 2020 at 07:47AM
https://ift.tt/32hvibT

ชะตากรรม "อุตสาหกรรมการบิน" เจ็บหนักทั้งโลก ความสูญเสียที่ไม่จบแค่ปี 2563 - ไทยรัฐ

https://ift.tt/2TYnNTT


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ชะตากรรม "อุตสาหกรรมการบิน" เจ็บหนักทั้งโลก ความสูญเสียที่ไม่จบแค่ปี 2563 - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.