19 มิถุนายน 2563 | โดย บล.เคจีไอฯ
76
ได้แรงเสริมจากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ
Event
อัพเดตแนวโน้มธุรกิจกลุ่มการพาณิชย์
lmpact
การที่ COVID-19 ระบาดทำให้สูญเสียรายได้ประมาณ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการ
แม้ว่าจำนวนแรงงานในภาคบริการจะคิดเป็นประมาณ 29.7% ของกำลังแรงงานทั้งประเทศ (Figure 1),แต่รายได้ของแรงงานกลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วนถึง 46.1% ของรายได้รวม (Figure 2) การใช้มาตรการ lockdown ประเทศเพื่อคุมการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการจ้างงานในภาค
บริการเมื่อเทียบกับภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ เราคาดว่าน่าจะเห็นการฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้จากการผ่อนคลายมาตรการ lockdown และข้อจำกัดเรื่อง social distancing แต่อย่างไรก็ตาม เราประเมิน scenario ในกรณีเลวร้ายว่าสถานการณ์ COVID-19 จะทำให้สูญเสียรายได้ไปประมาณ 2 ล้านล้านบาท (Figure 3) คิดเป็น 36% ของการบริโภครวมของประเทศไทย (Figure 5)
แม้จะมีเม็ดเงินช่วยเหลือจากภาครัฐแล้ว แต่ก็ยังขาดอีก 1.2 ล้านล้านบาท
รัฐบาลได้ออก พรก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดย 6 แสนล้านบาทจัดสรรไปให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระ (4.50 แสน ลบ.) และ เกษตรกร (1.50 แสน ลบ.) ดังแสดงใน Figure 9 ในขณะที่ส่วนที่เหลืออีก 4 แสนล้านบาทคาดจะออกมาในครึ่งหลังของปีนี้ แต่แม้จะมีเงิน
ช่วยเหลือจากภาครัฐ แต่ก็ยังขาดอีกถึง 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 22% ของการบริโภครวม (Figure11) ซึ่งแบ่งเป็นสินค้าจำเป็นประมาณ 5.3% และสินค้าฟุ่มเฟือย 16.9% ของการบริโภครวม (Figure 12)
แพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ 4 แสนล้านบาทจะส่งผลดีกับผู้ประกอบการในต่างจังหวัด
โครงการช่วยเหลือวงเงิน 4 แสนล้านบาท (ส่วนที่เหลือจาก พรก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งจะ ช่วยเสริมศักยภาพ รวมถึงยกระดับการค้า ภาคการผลิต และการบริการของประเทศ เราคาดว่าแพ็คเกจนี้จะจัดสรรไปให้ต่างจังหวัดในแง่ของการเพิ่มการจ้างงาน (~50% ของงบประมาณทั้งหมด) เพิ่มการใช้วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ (~50% ของงบประมาณทั้งหมด) ดังนั้น เราจึงคาดว่าผู้ประกอบการที่มีเครือข่ายสาขาในต่างจังหวัดจะได้อานิสงส์จากแพ็คเกจนี้ โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าที่จำเป็นต่อผู้บริโภคอย่าง Siam Makro (MAKRO.BK/ MAKRO TB), Big C Supercenter
(BIGC) และ Tesco Lotus ต่างก็มีเครือข่ายสาขาที่แข็งแกร่งในต่างจังหวัด (ประมาณ 70-80% ของจำนวนสาขาทั้งหมด) ในขณะเดียวกัน เราก็มองว่า Siam Global House (GLOBAL.BK/ GLOBAL TB)*จะเป็นผู้ประกอบการที่ขายสินค้าฟุ่มเฟือยซึ่งได้ประโยชน์จากประเด็นนี้ เพราะสาขาทุกแห่งอยู่ใน
ต่างจังหวัด
คงให้นํ้าหนักกลุ่มการพาณิชย์ที่ Neutral แต่มองว่ายังพอมีโอกาสให้เข้าเก็งกำไรได้
เรามองว่ายังพอมีโอกาสให้เข้าเก็งกำไรใน C.P. All (CPALL.BK/CPALL TB)* สำหรับกลุ่มที่ขายสินค้าจำเป็นต่อผู้บริโภค และ Siam Global House (GLOBAL.BK/GLOBAL TB)* สำหรับกลุ่มที่ขายสินค้าฟุ่มเฟือย โดย CPALL* จะได้ผลบวกโดยอ้อมจาก MAKRO และผลบวกโดยตรงจากเครือข่ายร้าน
สะดวกซื้อของบริษัทจากการผ่อนคลายมาตรการ lockdown โดยคาดว่ากำไรในปี 2564 จะโต 17% และราคาหุ้นยังมี upside ถึงราคาเป้าหมายของเราอีก 13.7% ในขณะที่เราคาดว่ากำไรของ GLOBAL* ในปี2564 จะโตอย่างน่าสนใจถึง 34% คิดเป็น PEG ที่สมเหตุสมผลที่ 0.9X เราให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มกา
พาณิชย์ที่ "เท่ากับตลาด" และมองว่ามีโอกาสเข้าเก็งกำไรใน CPALL* (แนะนำถือ โดยให้ราคาเป้าหมาย 1H64 ที่ 79.00 บาท) และ GLOBAL (แนะนำถือ โดยให้ราคาเป้าหมาย 1H64 ที่ 14.60 บาท)
Risks
เศรษฐกิจชะลอตัวลง เกิด disruption จากเทคโนโลยีใหม่ ความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของทางการ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ขยายสาขาห้างได้ช้าเกินคาด การหาทำเลสร้างสาขาใหม่
June 19, 2020 at 02:53PM
https://ift.tt/2Nb6sDp
'Commerce' Sector (19 มิ.ย.63) - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/2TYnNTT
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'Commerce' Sector (19 มิ.ย.63) - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment